อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 1
มีขนาดเล็กสามารถจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้เพียง 50 กว่าชนิดเท่านั้น ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา จึงดำริให้จัดสร้างอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ขึ้น โดยให้ตัวอาคารทั้งสองหลังเชื่อมติดกัน ภายในตัวอาคารประกอบด้วย ตู้ปลาขนาดใหญ่ บรรจุน้ำได้ 400 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ตู้ สามารถเดินดูปลาได้รอบตู้ และมีอุโมงค์ลอดใต้ตู้สามารถชมความเคลื่อนไหวของสัตว์น้ำในตู้จากอุโมงค์ได้ อุโมงค์มีความยาวประมาณ 8.5 เมตร อุโมงค์ปลาน้ำจืดตู้ปลาใหญ่นี้ใช้อะคริลิค ในการสร้างตู้ ซึ่งอะคริลิคมีความหนาถึง 88 มิลลิเมตร (3.5 นิ้ว) นอกจากตู้ปลาใหญ่แล้วยังมีปลาน้ำจืดขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร อีก 30 ตู้ ซึ่งอาคารหลังที่ 2 นี้สามารถเปิดให้ชมได้ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นอกจากตู้ปลาน้ำจืดในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ยังจัดแสดงตู้ปลาทะเลด้วย จำนวน 7 ตู้ การจัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ทั้ง 2 อาคาร
หลังที่ 1การแสดงตู้ปลาใหญ่
ตู้ปลาขนาดใหญ่สวยงาม บรรจุน้ำได้กว่า 400 ลูกบาศก์เมตร และมีอุโมงค์ความยาวประมาณ 8.5 เมตร ผู้ชมสามารถเดินลอดผ่านใต้ตู้ปลา ได้บรรยากาศเหมือนอยู่ใกล้สัตว์น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ปลาน้ำจืดแห่งแรก ของประเทศไทย มีนักประดาน้ำหญิงสาธิตการให้อาหารปลา นอกจากนั้นโดยรอบยังมีตู้ปลาน้ำจืดอีก 30 ตู้ และตู้ปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้
การแสดงตู้ปลาใหญ่ มีเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มี 4 รอบ
ตั้งแต่เวลา 10.30 – 16.00 น.